? ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี 2021 จากผลงานการ ‘ค้นพบตัวรับรู้อุณหภูมิและการสัมผัส’ (Sensory Receptors) โดยสองนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่งานนี้มี ‘พริก’ เข้ามาเอี่ยวด้วย จนอดสงสัยไม่ได้!

? อย่างไรก็ตามการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองท่านนี้ ก็เท่ากับตอกย้ำให้เห็นว่าเรายังมีความรู้เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกของร่างกายมนุษย์น้อยมาก และยังต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอีกเยอะเลย ว่าแต่.. แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับพริกกันนะ? ?

??‍⚕️ เดวิด จูเลียส (David Julius) นักสรีรวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) หนึ่งในสองนักวิทยาศาสตร์ผู้คว้ารางวัลโนเบลในครั้งนี้ เผยว่าเขาได้ทดลองกับตัวรับในเซลล์ที่ตอบสนองต่อสารแคปไซซิน (Capsaicin) สารที่ให้ความเผ็ดร้อนในพริก ในการระบุระบบประสาทที่ทำให้ผิวหนังของเราตอบสนองต่อความร้อน ซึ่งตัวรับดังกล่าวจะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อความร้อนขึ้นสูงถึงระดับที่จะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดได้ อีกทั้งยังค้นพบโปรตีนที่เป็นตัวรับและควบคุมกลไกที่มีชื่อว่า TRIPV1 อีกด้วย

??‍? ในขณะที่ อาร์เดม ปาตาปูเตียน (Ardem Patapoutien) นักประสาทวิทยาและชีววิทยาระดับโมเลกุล จากสถาบันวิจัยสคริปส์ (Scripps) ในแคลิฟอร์เนีย ได้ค้นพบระบบประสาทรับความรู้สึกที่อ่อนไหวต่อแรงกดดัน ที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นของพลังงานกล (Mechanical Force) โดยตัวรับนี้เป็นโปรตีนที่มีชื่อว่า PIEZO1 และ PIEZO2

? เท่ากับว่าผลงานของทั้งสองท่านนี้ ได้ช่วยให้เราเข้าใจว่าอุณหภูมิร้อน-เย็น และแรงกระทำที่เกิดกับร่างกายสามารถกระตุ้นให้เกิดกระแสประสาท จนช่วยให้เรารับรู้และปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมจนอยู่รอดมาได้อย่างไรนั่นเอง

? ที่สำคัญเท่ากับเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในด้านเภสัชวิทยาด้วย ที่อาจนำไปสู่การรักษาอาการเจ็บปวด และการพัฒนาสู่ยารักษาโรคหัวใจได้ในอนาคต ชาว Merck ต้องขอขอบคุณ และขอแสดงความยินดีกับความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองท่านด้วยนะคร้าบบ

#MerckThailand #NobelPrize #DavidJulius #ArdemPatapoutien


MORE FROM US
Find out about what is going on in our programs, and what happened in the past!

27 มีนาคม 2567

Nanomaterial

Nanomaterial

27 มีนาคม 2567

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER