รู้ไหมว่าของเสียอันตรายจากห้องแล็บ หมายถึง ของเสียที่ปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่าง ๆ เช่น วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือสิ่งใดก็ตามที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม

โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ‘ของเสียทั่วไป’ ที่สามารถส่งกำจัดตามระบบกำจัดของเสียทั่วไปของกทม.หรือเทศบาล และ ‘ของเสียอันตราย’ ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ด้วยกัน ได้แก่ ของเสียสารเคมี ของเสียติดเชื้อ และของเสียกัมมันตรังสี

ซึ่งในส่วนนี้หลังจากคัดแยกออกจากของเสียทั่วไปแล้ว ต้องประเมินว่าสามารถบำบัดเพื่อทำลายฤทธิ์หรือลดความเป็นอันตรายในห้องแล็บได้หรือไม่ หากทำได้ให้บรรจุ เก็บกัก และนำไปกำจัดรวมกับระบบกำจัดของเสียทั่วไปของกทม.หรือเทศบาล

แต่หากไม่สามารถบำบัดได้ ให้รวบรวม บรรจุ เก็บกัก เพื่อขนส่งของเสียอันตรายนี้ ให้กับหน่วยงานกำจัดของเสียอันตรายของบริษัทเอกชน กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อกำจัดของเสียอันตรายอย่างถูกวิธีต่อไป

ทั้งนี้ในระหว่างที่รอกักเก็บของเสียอันตราย ควรบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม เช่น ไม่ใช้โลหะในการเก็บของเสียประเภทกรด สารเคมีในขวดเดิมที่จะนำมาเก็บของเสีย ต้องไม่ใช่สารที่เข้ากันไม่ได้กับของเสีย และควรติดฉลากภาชนะชัดเจน ประเภทของเสีย ความเป็นอันตราย วันที่เริ่มบรรจุของเสีย รวมไปถึงชื่อห้องแล็บ ชื่อผู้รับผิดชอบ รวมไปถึงปริมาณของเสียที่ไม่ควรบรรจุเกิน 80% ของความจุภาชนะ

นอกจากนี้ในกรณีของเสียพร้อมส่งกำจัดที่มีปริมาตร 80% ของภาชนะ ไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 90 วัน ส่วนของเสียที่ปริมาตรน้อยกว่า 80% ของภาชนะ ไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 1 ปี

เพื่อน ๆ รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมหมั่นตรวจสอบของเสียภายในห้องแล็บกันเป็นระยะ เพื่อการกำจัดอย่างถูกวิธี และเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายทั้งต่อตัวเราและสิ่งแวดล้อมกันนะครับ

#MerckThailand


MORE FROM US
Find out about what is going on in our programs, and what happened in the past!

27 มีนาคม 2567

Nanomaterial

Nanomaterial

27 มีนาคม 2567

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER