รายงานวิทยาศาสตร์ของยูเนสโก (UNESCO) 2021

            จากการสำรวจงบการใช้จ่ายด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในทุกๆระดับประเทศ ระหว่างปี 2014-2018 พบว่า เพิ่มขึ้นเกือบ 20% แต่ความจริงแล้ว  2 ใน 3 ของงบการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากเพียง 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนเพียงเท่านั้น ยังมีอีก 80% ของประเทศที่ได้รับทำการสำรวจ ซึ่งใช้จ่ายเงินน้อยกว่า 1% ของ GDP เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

            เพื่อติดตามผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของโลกในแต่ละประเทศ UNESCO จัดทำรายงานขึ้นทุกๆ 5 ปี
โดยปี 2021 ใช้ชื่อหัวข้อว่า ‘The Race Against Time for Smarter Development’ เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นว่าในทุกๆ ระดับประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาในยุคดิจิทัล

หัวข้องานวิจัยที่มีการจัดทำขึ้นมากที่สุด

             เมื่อพิจารณาหัวข้อที่ทำงานวิจัย สาขา AI และ Robotic เป็นสาขาที่มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด โดยมีมากกว่า 150,000 บทความ ในปี 2019 ในขณะที่หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน (sustainability) เช่น ทางเลือกเชิงนิเวศแทนพลาสติก การพัฒนาพืชผลเพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง น้ำสะอาด และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ยังไม่เป็นที่นิยมในการตีพิมพ์งานวิชาการในระดับโลก โดยพบว่า ประเทศที่กำลังพัฒนามีสัดส่วนการเผยแพร่งานวิจัยในหัวข้อเหล่านี้มากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

           เพราะประเทศที่มีเศรษฐกิจไม่ดีและกำลังพัฒนานั้นจำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก แต่กลับต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ประเทศเหล่านี้ให้ความสนใจงานยวิจัยในเรื่องของ ความยั่งยืน(sustainability) มากเป็นพิเศษ เพราะมันหมายถึงความอยู่รอดของประชากรในประเทศ

อ่านบทความ >> ในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประชากรโลกกว่าหลายพันล้านคนจะไม่มีน้ำสะอาดใช้


            การทิ้งพลาสติกลงในทะเล คือ หัวข้อหลักของงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์เรื่อง ความยั่งยืน (sustainability) ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วจาก 46 ฉบับในปี 2011 เป็น 853 ฉบับ ในปี 2019 แต่ผลลัพธ์ของงานวิจัยในเรื่องเหล่านี้มักไม่ตอบโจทย์ต่อการพัฒนาประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมากนัก เช่น การวิจัยการดักจับและกักเก็บคาร์บอน ให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนมีแนวโน้มลดลง

Audrey Azoulay ผู้อำนวยการใหญ่  ของ UNESCO ได้กล่าวเอาไว้ว่า

            ในปัจจุบันมีปัญหามากมายที่ต้องแก้ไข เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความสะอาดในมหาสมุทรลดลง และโรคระบาดทั่วโลก นี่คือเหตุผลที่เราต้องระดมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลก วิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และต้องมีความเหลื่อมล้ำน้อยลง ให้ความร่วมมือมากขึ้นและเปิดกว้างมากขึ้น


            จำนวนงานวิจัยในประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับล่างเพิ่มขึ้นจาก 13% ในปี 2015 เป็นมากกว่า 25% ในปี 2018 นอกจากนั้น จำนวนนักวิจัยทั่วโลกยังเพิ่มขึ้นถึง 13.7% ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการที่มากขึ้นเพราะการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แต่จำนวนนักวิจัยหญิงก็ยังมีเพียงแค่ 33% จากจำนวนนักวิจัยทั้งหมดในปี 2018 เท่านั้น

            ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรจะให้ความเท่าเทียมกับนักวิทยาศาสตร์หญิงเพื่อบรรลุในเป้าหมายที่กล่าวไป โดย Merck ได้จัดกิจกรรม “Women in Science” ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกท่านเสนอชื่อของนักวิทยาศาสตร์หญิงในดวงใจเพื่อร่วมส่งเสริม สนับสนุนและให้เกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์หญิงเหล่านั้น 


ที่มา : news.un.org
          bbc.com 
MORE FROM US
Find out about what is going on in our programs, and what happened in the past!

27 มีนาคม 2567

Nanomaterial

Nanomaterial

27 มีนาคม 2567

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER