ปกติแล้วเราเปลี่ยนสมาร์ทโฟนกันบ่อยแค่ไหนซึ่งก็จะอยู่กันที่ 3-5 ปีหรือบางครั้ง 1-2 ปีก็ต้องเปลี่ยนใหม่แล้ว ระยะเวลาแค่นี้ไม่แปลกเลยว่าทำไมถึงมีการผลิตออกมาอย่างรวดเร็ว ของเก่าก็ต้องถูกทิ้งไปกลายเป็นกองขยะที่ไม่ได้รับการกำจัดที่ถูกต้อง

เมื่อ E-waste กลายเป็นขยะ และไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องสารเคมีทั้ง ตะกั่ว ปรอท โบรมีน ฯลฯ ก็จะปนเปื้อนอยู่ในหลุมฝังกลบ มีโอกาสแพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำและผืนดินจนกลายเป็นมลพิษทางสิ่งแวดล้อมไปยังพื้นที่อื่นๆ และยีงสามารถปนเปื้อนไปในอากาศเป็นปัญหาสุขภาพได้

นอกจากนี้การรีไซเคิล E-Waste นี้ยังช่วยลดขั้นตอนในการผลิต ทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้อีกด้วย เพื่อน ๆ คนไหนที่มี E-Waste ที่ไม่ใช่แล้วอยู่ที่บ้านแต่ไม่รู้จะนำไปทิ้งที่ไหน ก็สามารถนำมาทิ้งกับเครือข่ายเอกชนที่รับทิ้งกันได้หรือจะส่งคืนให้กับโครงการ คืนแบตเก่า เรารักษ์โลก ของกสทช. https://bit.ly/3IHxJbk เพื่อทั้งชีวิตที่ดีขึ้นของเราและโลก

.

ขอบคุณข้อมูลจาก :

กรมอนามัยสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม

https://bit.ly/3tFsh4z

https://on.natgeo.com/3rvfxut

.

#MerckThailand


MORE FROM US
Find out about what is going on in our programs, and what happened in the past!

27 มีนาคม 2567

Nanomaterial

Nanomaterial

27 มีนาคม 2567

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER