สารที่ปนเปื้อนในอาหารที่เราสามารถพบได้บ่อย ๆ นั่นก็คือ “สารบอแรกซ์” หรือเรียกว่า โซเดียมโบเรท (Sodium Borate) จะมีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ จะนำมาใช้เพื่อให้อาหารนั้นมีความกรอบและเหนียวนุ่ม รสชาติดีและเก็บไว้ได้นาน อาหารที่มักพบว่ามีบอแรกซ์ผสมประเภทเนื้อสัตว์ หรือผลไม้แช่อิ่ม

การจะรู้ว่าอาหารปนเปื้อนหรือไม่ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีวิธีการตรวจสอบ โดยชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหารที่สามารถนำไปตรวจสอบเองได้ ใช้สารละลาย HCl เจือจาง และกระดาษขมิ้น ซึ่งมี สารเคอร์คูมิน (Cercumin) ประกอบ ถ้ากระดาษขมิ้นเปลี่ยนเป็นสีแดง ก็แสดงว่าอาหารของคุณปนเปื้อนนั่นเอง

การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนอยู่เป็นประจำก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ สารบอแรกซ์นี้เป็นสารที่ก่อให้เกิด สารไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง รวมถึงอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องได้อีกด้วย

เห็นแบบนี้แล้วเพื่อน ๆ ก็อย่าลืมสร้างความปลอดภัยด้วยตัวเองโดยการเลือกแหล่งวัตถุดิบหรืออาหารที่มีคุณภาพ ล้างทำความสะอาดหลีกเลี่ยงอาหารสารเคมี เพื่อสุขภาพที่ดีกัน

.

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://bit.ly/3FJ8Z0i

https://bit.ly/3rxnHm2

https://bit.ly/3Ibxwg4

.

#MerckThailand


MORE FROM US
Find out about what is going on in our programs, and what happened in the past!

27 มีนาคม 2567

Nanomaterial

Nanomaterial

27 มีนาคม 2567

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER