รู้กันหรือเปล่าว่า นอกจากปัจจัยภายนอกอย่างสารพิษต่าง ๆ แล้ว พันธุกรรมก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้เกิด ‘มะเร็ง’ ได้ด้วยนะ ? ว่าแต่ อัตราการเป็นมะเร็งจากพันธุกรรมเทียบจากผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดจะอยู่ที่เท่าไหร่กันนะ ลองพิมพ์เลข % ทายมาในคอมเมนต์กันหน่อยสิ ?

.

#MerckThailand #MerckLifeScienceThailand #มะเร็ง #Cancer

.

เฉลย! เลขที่ออกคือออออ 5-10% นั่นเอง

.

การเกิดมะเร็งส่วนใหญ่จะมาจากความผิดปกติของคนคนนั้นเองประมาณ 90-95% โดยอาจมาจากสิ่งแวดล้อม สารเคมี พฤติกรรมการใช้ชีวิต ส่วนอีก 5-10% จะเป็นมะเร็งที่เกิดจากพันธุกรรม

.

โดยในร่างกายจะมีกลุ่มยีนที่ทำหน้าที่ป้องกันการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ เรียกว่า BRCA1 และ BRCA2 การผ่าเหล่า (Mutation) ของยีนเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้ ?

.

? เพศหญิง

? การผ่าเหล่าของยีน BRCA1 จะเพิ่มความเสี่ยง > มะเร็งปากมดลูก, มดลูก, ตับอ่อน และลำไส้ใหญ่

? การผ่าเหล่าของยีน BRCA2 จะเพิ่มความเสี่ยง > มะเร็งตับอ่อน, กระเพาะอาหาร, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดี และมะเร็งของเซลล์ผลิตเม็ดสี

?‍? เพศชาย

?การผ่าเหล่าของยีน BRCA1 และ BRCA2 จะเพิ่มความเสี่ยง > มะเร็งเต้านม, ตับอ่อน, อัณฑะ และต่อมลูกหมาก

.

ในปัจจุบัน เราสามารถตรวจพันธุกรรมเพื่อทำนายความเสี่ยงของมะเร็งชนิดต่างๆ จากยีนข้างต้นได้

.

สำหรับ Merck เองก็มีเครื่องมือ Luminex® และเครื่อง Milliplex® ที่ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปริมาณตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

.

รู้แบบนี้แล้ว ใครที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ก็อย่าลืมเข้ารับการตรวจเพื่อทราบความเสี่ยงและวางแผนสุขภาพต่อไปนะ ?‍?‍?‍?

.

ขอบคุณข้อมูลจาก:

https://bit.ly/3vxx9t0

https://bit.ly/3KtYVuE


MORE FROM US
Find out about what is going on in our programs, and what happened in the past!

27 มีนาคม 2567

Nanomaterial

Nanomaterial

27 มีนาคม 2567

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER

SPECTROQUANT® PROVE SPECTROPHOTOMETER